ploy

ploy

สงครามรัสเซีย-ยูเครน ดัน ราคาวัสดุก่อสร้างพุ่ง

สงครามรัสเซีย-ยูเครน ดัน ราคาวัสดุก่อสร้างพุ่ง

นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ ผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ ราคาสินค้ากลุ่มวัสดุก่อสร้างในประเทศปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเพิ่มขึ้นในทุกหมวดสินค้า เห็นได้จาก ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนมี.ค.65 อยู่ที่ 119.7 สูงขึ้น 8.6% เทียบกับเดือนมี.ค.64 สูงสุดในรอบ 4 เดือนนับจากเดือนพ.ย.64 ที่สูงขึ้น 10.4% ส่วนเมื่อเทียบเดือนก.พ.65 สูงขึ้น 2.2% และเฉลี่ย 3 เดือน (ม.ค.-มี.ค.) ปี 65 สูงขึ้น 7.2% เทียบช่วงเดียวกันปี 64    สาเหตุหลักที่ทำให้ราคาสูงขึ้น มาจากการสูงขึ้นของราคาวัตถุดิบและพลังงาน เช่น น้ำมัน เหล็ก ถ่านหิน อลูมิเนียม เป็นต้น ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญในอุตสาหกรรมการก่อสร้าง และเป็นสินค้านำเข้า ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์…

5 เครื่องดื่ม ไม่ควรดื่มก่อนนอน

5 เครื่องดื่ม ไม่ควรดื่มก่อนนอน

1. แอลกอฮอล์      หลายๆ คนอาจจะคิดว่า การดื่มแอลกอฮอล์ก่อนนอนสามารถช่วยให้เราผ่อนคลายขึ้น แต่จริงๆ แล้ว เครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะช่วยให้เราหลับได้ดีแค่ในช่วงแรกเท่านั้น และจะไปรบกวนการนอนหลับในช่วงครึ่งหลังของเรา รวมถึงแอลกอฮอล์ยังไปรบกวนคลื่นสมองสำคัญที่เรามีขณะนอนหลับ จึงทำให้เราหลับลึกได้ยากขึ้น ส่งผลให้คุณภาพการนอนต่ำ ดังนั้นแม้ว่าแอลกอฮอล์จะช่วยให้เราผ่อนคลายได้ในช่วงแรกก็จริง แต่การไม่พึ่งแอลกอฮอล์จะดีที่สุดค่ะ เพราะเราก็ยังมีเครื่องดื่มสมุนไพรอื่นๆ ที่มีส่วนช่วยลดความเครียด ทำให้เราผ่อนคลาย และหลับสบายขึ้นได้ไม่แพ้กันค่ะ  2. กาแฟ      กาแฟ เป็นเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนผสมอยู่มาก ดื่มแล้วทำให้เราตื่นตัว กระปรี้กระเปร่า จึงถือเป็นเครื่องดื่มที่เหมาะสำหรับดื่มตอนเช้ามากกว่าการดื่มในช่วงบ่ายแก่ๆ ช่วงเย็น และก่อนนอน โดยแนะนำให้หลีกเลี่ยงการดื่มกาแฟในช่วง 8 ชั่วโมงก่อนนอน ก็จะทำให้การนอนหลับของเราไม่ถูกรบกวน ลดอาการนอนไม่หลับ และทำให้หลับง่ายขึ้นค่ะ รวมถึงกาแฟยังไปกระตุ้นการขับปัสสาวะอีกด้วย จึงไม่เหมาะสำหรับดื่มก่อนนอนสุดๆ 3.…

Shipping Sector เป็นกังวลมากขึ้นกับอุปสงค์การค้าโลก

Shipping Sector เป็นกังวลมากขึ้นกับอุปสงค์การค้าโลก

ปัญหาเรือขนตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลนคลี่คลายลง แต่อัตราค่าระวางยังสูงอยู่ ถึงแม้ว่าปัญหาการติดขัดในท่าเรือหลักบางแห่งในเอเชีย และอเมริกาเหนือจะยังไม่ได้รับการแก้ไขให้หมดไป แต่สถานการณ์ขาดแคลนเรือขนตู้คอนเทนเนอร์เริ่มมีสัญญาณดีขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งจากข้อมูลของสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย อุปสงค์เรือขนตู้คอนเทนเนอร์ของเส้นทางขาออกหลัก ส่วนใหญ่สมดุลพอดีกับอุปทาน ยกเว้นเส้นทางยุโรปซึ่งอุปทานยังตึงตัวเพราะอุปสงค์สินค้าจำเป็นและเวชภัณฑ์เพิ่มขึ้นจากสถานการณ์ที่ทวีความตึงเครียดมากขึ้นระหว่างรัสเซียกับยูเครน ในขณะเดียวกัน อัตราค่าระวางของเส้นทางขาออกทุกเส้นทางยังทรงตัวอยู่ในระดับสูงในเดือนกุมภาพันธ์ นอกจากนี้ สถานการณ์ขาดแคลนเรือขนตู้คอนเทนเนอร์ที่คลี่คลายลงยังสะท้อนจากดัชนี Shanghai Containerized Freight Index (SCFI) ซึ่งเป็นดัชนีอัตราค่าระว่างเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักจากเซี่ยงไฮ้ไปยังจุดหมายปลายทางหลัก 15 แห่ง ที่ลดลง 6% กรณีพิพาทรัสเซีย – ยูเครนทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับการขนส่งในเส้นทางเอเชีย-ยุโรป  กรณีพิพาทระหว่างรัสเซีย และยูเครนอาจจะส่งผลกระทบต่อการขนส่งทางทะเล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเส้นทางเอเชีย-ยุโรป ทั้งนี้ ตั้งแต่ต้นเดือนมีนาคม สี่สายเดินเรือใหญ่ (MSC, Mearsk, CMA CGM และ Hapag Lloyd) ได้ระงับการเดินเรือสินค้าเข้าและออกจากรัสเซีย…

รัฐเตรียมจัดเก็บภาษีความเค็ม…ตลาดอาหารโซเดียมสูงเผชิญความท้าทาย

รัฐเตรียมจัดเก็บภาษีความเค็ม…ตลาดอาหารโซเดียมสูงเผชิญความท้าทาย

ขณะนี้ภาครัฐอยู่ในระหว่างพิจารณากำหนดแนวทางการจัดเก็บภาษีความเค็ม และคาดว่าน่าจะประกาศแนวทางปฏิบัติในปี 2565 เพื่อให้ผู้ประกอบการปรับปรุงการผลิต ก่อนที่จะกำหนดวันเริ่มบังคับใช้ในระยะต่อไป โดยจะพิจารณาจากความพร้อมของผู้ประกอบการและผู้บริโภค รวมถึงภาวะเศรษฐกิจประกอบไปด้วย ทั้งนี้เป้าหมายหลัก คือเพื่อลดการบริโภคโซเดียมของคนไทย ซึ่งจากงานวิจัยของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย1 พบว่า การบริโภคโซเดียมเฉลี่ยของคนไทย อยู่ที่ 3,636 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งสูงกว่าปริมาณที่องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำ ในปริมาณไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน ถึงเกือบ 2 เท่า ซึ่งการบริโภคโซเดียมมากเกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนด อาจเป็นหนึ่งในสาเหตุของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) หลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นโรคไตเรื้อรัง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคเบาหวาน โดยประมาณการค่ารักษาพยาบาลของ 5 กลุ่มโรคข้างต้นอยู่ที่ไม่ต่ำกว่า 1 แสนล้านบาทต่อปี2 หรือคิดเป็นสัดส่วนเกือบ 1…

ทำความรู้จัก 7 เทรนด์อาหารในปี 2022 ก่อนใคร

ทำความรู้จัก 7 เทรนด์อาหารในปี 2022 ก่อนใคร

ในปี 2021 ที่กำลังจะผ่านไปนั้น มีการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เกิดขึ้นมากมายไม่เว้นแม้แต่ในเรื่องของอาหารและพฤติกรรมการบริโภค ด้วยเพราะการเกิดโรคระบาดยังคงยาวนานต่อเนื่อง การกินอาหารที่ไม่ผ่านการปรุง หรืออาหารสดๆ อาจเริ่มได้รับความนิยมน้อยลงจากเดิม เพราะหลายคนระมัดระวังในเรื่องของอาหารมากขึ้น รวมไปถึงพฤติกรรมการกินที่เน้นในเรื่องของความรวดเร็วและสะดวกสบายอย่างเช่น อาหารเดลิเวอร์รี่ เนื่องจากโลกปรับตัวให้เราใช้เวลาอยู่ที่บ้านมากขึ้น และให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มที่ให้ประโยชน์เพิ่มเติม เช่น เครื่องดื่มผสมวิตามินต่างๆ และผลิตภัณฑ์ที่ช่วยส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีในเรื่องของสุขภาพ ถ้ากุ้งอบหม้อทอดไร้น้ำมันเป็นเทรนด์ยอดฮิตในปีที่ผ่านมาจากเมนูหม้อทอด เรามาดูกันบ้างค่ะว่า เทรนด์อาหาร 2022 ที่น่าจับตามองนั้นจะมีอะไรบ้าง 7 เทรนด์อาหาร 2022 ที่กำลังจะมาถึง ! โปรตีนจากพืช เทรนด์สุขภาพ 2022 คนเริ่มนิยมบริโภคอาหารสุขภาพที่หลากหลายมากขึ้น ไม่ใช่มีเพียงอาหารคลีนหรือคีโตเท่านั้น แต่เทรนด์อาหารมังสวิรัติก็กำลังมาแรง เพราะนอกจากจะดีต่อสุขภาพแล้ว ยังอาจมาจากความผันผวนของราคาโปรตีนจากสัตว์ที่ถีบตัวสูงขึ้นมากอีกด้วย การเลือกกินโปรตีนอื่นๆ แทนอาจเป็นอีกทางเลือก อย่างเช่น เมนูกากถั่วเหลือง ก็สามารถบริโภคเพื่อรับโปรตีนทดแทนเนื้อสัตว์อย่างหมู ไก่ ได้เช่นกัน…

LINE LOGO SVG